บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5
*กิจกรรมการเรียนการสอน
-ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ อาจารย์จึงให้นักศึกษาเตรียมงานที่จะนำเสนอ กลุ่มดิฉันเรื่อง เด็กสมาธิสั้น
*เนื้อหาที่เรียน
-หมายเหตุ เนื้อหาที่กลุ่มตนเองจับสลากได้
* บทความที่ศึกษา
เด็กสมาธิสั้น คือ กลุ่มเด็กเก่ง ไหวพริบและไอคิวดีมาก
โดย นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
เด็กสมาธิสั้น คือ กลุ่มเด็กเก่ง ไหวพริบและ ไอคิวดีมาก แต่คำว่า สมาธิสั้น
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเป็นแง่ลบว่า ปัญญาอ่อน ไม่สามารถจะเรียนอะไรได้เลย
กลับตรงข้าม เป็นเด็กที่มีสมาธิมากเหมือนอยู่ในภวังค์ในเรื่องที่ชอบ สนใจแต่
ไม่อาจมีสมาธิได้เลยในเรื่องที่ไม่สนใจ
ลักษณะเด็กสมาธิสั้นเด็กสมาธิสั้น หรือเรียก "ไฮเปอร์" มีประวัติ ใน วัยเด็กทั้งเหม่อและซน อยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่ายทำกิจกรรม มากมาย โดยเฉพาะการวิ่งเล่นซน ไม่รู้จักเหน็ด เหนื่อยทั้งวัน ยกเว้นการทำอะไร ที่ไม่สนใจจะทำได้ จะทำได้ไม่นาน หยุกหยิก เหม่อเหมือนไม่ฟังเวลาพูดคุยด้วยแต่กลับรู้เรื่องหมด เพราะสมองไวเหมือนเรดาร์ แบ่งภาคการรับรู้ได้มาก จึงเลือก ตรวจจับ รับข้อมูลหรือคำสั่งเฉพาะเรื่องที่สนใจและสำคัญ เช่น เสียงเรียกของแม่ที่เริ่ม อารมณ์เสีย หงุดหงิดกับการบอกหลายครั้งแล้วยังไม่ฟัง ไม่ทำตาม เพราะกำลังเพลิน มีสมาธิมากกับการเล่น ในเด็กผู้ชาย มักเป็นสมาธิสั้นแบบซน เคลื่อนไหวเร็ว เหมือนรถที่มีเครื่องยนต์แรงแต่เบรกไม่ค่อยดี พูดมาก เล่นสนุกส่งเสียงดัง ไม่ค่อยระวัง ทำอะไรรีบเร็ว ไม่เรียบร้อย ซุ่มซ่าม ของตกหล่น แตกบ่อย โดยไม่ตั้งใจ มีความว่องไวแบบนักวิ่งลมกรด หรือนักรักบี้ตัวน้อย ที่พละกำลังมากวิ่งชนคู่ต่อสู้หรือหลบ ดิ้นหลุดจากการถูกกอดรัด จับตัวไว้ได้ในเด็กผู้หญิงมักพบสมาธิสั้นแบบเหม่อมากกว่า ความซนจะน้อยกว่าเด็กผู้ชาย และทำอะไรเรื่อยๆ อืดอาดช้า ไม่ทันกำหนดเวลา ต้องคอยบอก กำกับ เหมือนไม่รู้เวลา เหม่อและหลงลืมบ่อย ผู้ใหญ่ที่ใจร้อน ก็คือเด็กไฮเปอร์มาก่อน เป็นคนที่คิดเร็ว พูดเร็ว ทำเร็วแสดงออกท่าทางมากเวลาพูด เปลี่ยนใจในเรื่องต่างๆ ง่ายเพราะมองเห็นความเป็นไปได้หลายมิติของสถานการณ์ จึงปรับตัวรับมือต่อความเปลี่ยนแปลง ที่พลิกผันได้ดี ชอบลักษณะงานที่ไม่อยู่กับที่ รักอิสระไม่ชอบถูกตีกรอบความคิดเป็นคนที่คิดนอกกรอบ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง จนบางครั้งดื้อรั้น ไม่ฟังใคร(อาจมีมาแต่วัยเด็ก เพราะดื้อคือลักษณะที่พบบ่อยในเด็กสมาธิสั้น) ความคิดและจินตนาการที่แปลกใหม่พรั่งพรูในสมอง คิดโครงการใหญ่ หรือบริหารกิจกรรมหลายอย่าง เบื่องานซ้ำๆ งานที่เข้าทำตามเวลา หรือถูกเร่งรัด ด้วยเวลาเด็กสมาธิสั้นมีสมาธิมาก แบบจดจ่อ อยู่ในภวังค์ ในเรื่องที่ชอบและสนใจไม่ใช่ไแต่เฉพาะการ์ตูน (ที่ผู้ใหญ่มองว่าไม่เป็นสาระ) แต่ยังสนใจภาพยนตร์สารคดี เรื่องราวของธรรมชาติ และสัตว์โลก ที่มีสีสันเป็นภาพเคลื่อนไหว และเนื้อหาแปลกใหม่ เป็นเด็กช่างสังเกต อยากรู้อยากเห็นมาก มีข้อสงสัย คำถามในใจมากมาย มาซักถามจนผู้ใหญ่เหนื่อยที่จะตอบ รวมถึงชอบเล่นแกะรื้อ ต่อประกอบอุปกรณ์ ของเล่นส่วนใหญ่มักกระจุยกระจาย แยกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพราะความอยากรู้อยากเห็น ผู้ใหญ่เข้าใจว่าซนไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อโตขึ้นก็รู้จักต่อประกอบใหม่ ซ่อมเครื่องยนต์ กลไกต่างๆ โดยไม่ต้องมีใครสอน เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยตนเอง จากการสังเกต ทดลองซ้ำ ฝึกปฏิบัติบ่อยๆ พื้นฐานเดิม เป็นเด็กที่อารมณ์ดี สนุกสนาน รับรู้อารมณ์คนรอบข้างไว จึงอ่อนไหวง่าย ขี้น้อยใจมากจากการที่ถูกดุว่าบ่อย เรื่องซน เหม่อและดื้อ ฉลาดโต้ตอบด้วยไหวพริบ คารมคมคาย น้ำเสียงพูดสูงๆ ต่ำๆ มีลีลาแบบจังหวะดนตรี เจ้าบทเจ้ากลอนเจ้าบทบาท เลียนแบบ แสดงสีหน้า อารมณ์เก่ง และมีธรรมชาติของความเก่ง ความสามารถ ด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา เพราะเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า เด็กสมาธิสั้นพันธุ์แท้ ล้วนแต่ปัญญาดี ฉลาด เก่งหลายด้าน แต่หากลักษณะซน, เหม่อขาดสมาธิ และหุนหันพลันแล่น มีมากจนก่อให้เกิดปัญหาการปรับตัว ทั้งด้านอารมณ์ พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หรือมีปัญหาการเรียนมาก ทางการแพทย์ จึงจะถือว่าเป็น โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit/Hyperactivity Disorder) หรือ ADHD
เข้าใจปัญหาการเรียน เด็กสมาธิสั้น กลุ่มที่ไม่มีปัญหาการเรียนมีมากกว่าครึ่งมีทั้งที่เรียนเก่งมากสอบได้ในระดับที่ 1-10 ได้ตั้งแต่เล็ก (แต่มีลักษณะของสมาธิสั้น)จนเข้ามหาวิทยาลัย ได้เกียรตินิยมจบปริญญาโท เอกจบแพทย์หลายสาขา เป็นวิศวกรนักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และอีกหลายแขนงวิชาชีพที่ชอบ หรือรั้งท้ายในวัยเด็ก ช่วงประถมหรือมัธยมต้นเพราะเหม่อหรือคุย เล่นมาก ในห้องเรียน แต่กลับมาทำคะแนนได้ เป็นม้าตีนปลายในโค้งสุดท้าย (ม.ปลาย) สอบเอ็นทรานซ์ได้ จากความชอบ มีเป้าหมาย หรือเริ่มรู้วิธีเรียน และใส่ใจพยายามมากขึ้น
กลุ่มที่มีปัญหาอ่านเขียนมาก พบได้ราวหนึ่งในสี่ของเด็กสมาธิสั้น เกิดจากการขาดสมาธิในการฟังครู และ/หรือจากความสับสนเรื่องตัวอักษร เช่นb เป็น d, p เป็น q, ค เป็น ด งงว่าหัวตัวอักษร หมุนเข้า หรือออกเวลาเขียนหรือจากปัญหาสะกดคำไม่ถูก ตกหล่น ลายมือเขียนตามปกติจะเป็นตัวใหญ่ๆเล็กๆ แต่หากเป็นการคัดลายมือ ก็สามารถตั้งใจ เขียนได้สวยงามแบบ ตัวอารักษ์ หากมีปัญหาสะกดคำไม่ได้ เรียกว่า ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) หรือแอลดีด้านภาษา มักพบสมาธิสั้นแบบเหม่อมากกว่าซน พร้อมกับพรสวรรค์ด้านอื่นเช่น วาดภาพ ปั้น ประดิษฐ์ การศึกษาที่เน้นอ่านเขียนมากไปตั้งแต่เล็ก ทำให้เครียดทั้งพ่อ แม่ ครู และเด็ก จนลืมนึกถึงว่าการเรียนในชั้นอนุบาล คือการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ในปัจจุบันยังพบลูกของแพทย์ ครู นักธุรกิจผู้พิพากษา พยาบาล เครียดตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ขีดเขียนกดดินสอย้ำ ลบรอยเขียนผิดออกซ้ำๆ จนกระดาษขาดยุ่ย กัดเคี้ยวดินสอ
เรียนรู้แตกต่าง สร้างแรงจูงใจ ฝึกนิสัยให้ปรับตัว
การ เรียนรู้ของเด็กสมาธิสั้นมาจากประสบการณ์ การสังเกต และปฏิบัติ มากกว่าฟังครูสอน หรืออ่านจากตำรา หากสิ่งที่เรียน นำไปปรับประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ก็จะจำได้เองโดยง่าย ถ้าสนใจเรื่องใดแม้จะเป็นเรื่องที่ยาก ก็มีสมาธิมาก อยากเรียน และเรียนรู้แบบวิเคราะห์เจาะลึกในเรื่องนั้น ได้ดี เป็นแฟนพันธุ์แท้ หรือเก่งเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตนเองสนใจตั้งแต่เล็ก
การสร้างแรงจูงใจ ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเด็กสมาธิสั้น ให้รู้จักคิดเอง แก้ปัญหาเองเป็น ตั้งแต่ 3-4 ขวบปีแรก ฝึกให้รู้จักรอคอย ดึงพลังงานที่มีมากในตัว มาใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ทำสิ่งต่างๆ ได้เองและชื่นชมเขาบ่อย เป็นพื้นฐานแรงจูงใจที่นำไปใช้ด้านการเรียนได้ การฝึกนิสัยให้รักการอ่าน ให้ดูหนังสือที่มีภาพประกอบ มีสีสัน อ่านให้ฟัง ตั้งแต่ 2-3 ขวบปีแรก โดยเฉพาะนิทาน การ์ตูน บทกลอน บทความ ง่ายๆ ช่วยให้เริ่มอ่านได้ตั้งแต่อนุบาล 3 และอ่านเก่งมาก ป.2, ป.3 หาหนังสือประเภทต่างๆ ที่ชอบเช่น รามเกียรติ์ พระอภัยมณี แฮร์รี่ พอตเตอร์ อ่านเร็วแบบ scan กวาดสายตาเก็บใจความเนื้อหา โดยข้ามการสะกดคำที่ยาก
แต่การเขียนมากๆ ประโยคยาวๆ จะต้องใช้สมาธิ รู้สึกยาก เมื่อยมือ เบื่อเขียนสะกดคำตกหล่น หรือผิดบ่อย จึงเขียนได้ช้า และเขียนตอบหรือบรรยายสั้นๆ หากเนื้อหาการเรียนมากทุกวิชา ให้เขียนมากๆ จากกระดานดำ เด็กสมาธิสั้นไม่สามารถจดจ่อในการเขียน จดไม่ทัน และจำในรายละเอียดมากๆ ไม่ได้เริ่มเรียนไม่เข้าใจ ทำการบ้านไม่ได้ ซุกการบ้าน ผลการเรียนลดลงตั้งแต่ช่วงประถมปลาย หรือช่วงเปลี่ยนระดับเข้ามัธยมต้น การสอนในห้องเรียน ที่ต้องนั่งนิ่งๆ ฟังครูสอน ทุกชั่วโมง หรือจดตามมากๆ เด็กสมาธิสั้นปรับตัวได้ยากการปรับการเรียนการสอน อาจเป็นการบรรยายภาคทฤษฎีสัก 20 นาที แล้วแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมให้ฝึกปฏิบัติ ซักถาม ถกเถียงกัน แล้วนำเสนอ อภิปรายได้ขยับตัวเคลื่อนไหวให้มีชีวิตชีวา มีบรรยากาศของการมีส่วนร่วม
*สะท้อนตนเองหลังเรียน
-มีความเข้าใจในงานที่จะนำเสนอดีมาก คาดว่าการนำเสนองานจะออกมาดี
*งาน
-งานนำเสนอเรื่อง เด็กสมาธิสั้น นำสนอในครั้งต่อไป
เพิ่มเติม ความรู้เกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น